วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

สื่อกราฟฟิกทางการศึกษา

สื่อกราฟฟิกทางการศึกษา
รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
1. นางสาวพรพัฒน์ วิวัฒน์ดิษกุล เลขที่ 28
2. นางสาวไพรินทร์ จันทร์นะ เลขที่ 31
3. นางสาวยุพิน เนตรพราว เลขที่ 33
4. นางสาวรสสุคนธ์ บุญรอด เลขที่ 34
5. นางสาวสุจิตรา สมทรง เลขที่ 41
6. นางสาวนุช ประเสริฐผล เลขที่ 56
7. นางสาวสุภาภรณ์ มรรคผล เลขที่ 61

สื่อกราฟิกทางการศึกษา ความหมายสื่อกราฟิก
กราฟิก (Graphic)
หมายถึง สิ่งที่ใช้ในการสื่อความหมายโดยการใช้รูปภาพ รูปถ่าย ภาพวาด ตัวอักษร สีมาใช้ลิตงานด้านออกแบบโดยใช้หลักการทางศิลปะเข้ามาช่วย
กราฟิกทางการศึกษา
หมายถึง สื่อการสอนประเภทหนึ่งที่นำเอาหลักการทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับ
การออกแบบเพื่อใช้ในการถ่ายทอด เรื่องราว แนวคิด ความรู้ข้อเท็จจริงระหว่างผู้ผลิตกับผู้ชม หรือระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงกัน
ความสำคัญของสื่อกราฟิกทางการศึกษา สร้างความเป็นรูปธรรมให้กับผู้เรียน
ช่วยกระตุนให้ผู้เรียนเกิดความสนใจได้มากว่าการฟังจากการบรรยายเพียงทางเดียว
ช่วยให้ครูได้เนื้อหามากขึ้นกว่าการสอนแบบบรรยายเพียงอย่างเดียว
ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อเรื่องได้ดีและนานกว่าฟังบรรยาย
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดและเเก้ปัญหาในการเรียนได้ดี
ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนเกิดความเข้าใจตรงกัน
ประโยชน์และคุณค่าของสื่อกราฟิก
สื่อกราฟิกทั้งหลายถ้าเลือกมาใช้ให้เหมาะสมแล้วมีประโยชน์อย่างมากต่อการเรียนการสอนวัสดุแต่ละอย่างมีประโยชน์ หรือมีคุณค่าต่อการสอนแตกต่างกัน ซึ่งจะได้อธิบายในรายละเอียดตอนต่อๆไป ส่วนประโยชน์โดยทั่วไปของวัสดุกราฟิก ต่อการเรียนการสอนนั้น มีดังนี้
1. ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้น เพราะผู้เรียน
ได้เรียนรู้ ผ่านประสาทรับรู้หลายทางขึ้น
2. ช่วยให้ครูสามารถสื่อความหมายได้ถูกต้องและ
ผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน
3. ทำให้การเรียนการสอนดำเนินการไปได้อย่าง
รวดเร็วได้เนื้อหามากประหยัดเวลา
4. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจไม่เบื่อหน่าย และร่วม
กิจกรรมการเรียนด้วยดี
5. ทำให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจเรียนได้เร็วและจำ
ได้นาน
6. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และรู้จักคิดแก้ปัญหา
ในรูปแบบต่างๆได้
7. สามารถทำสิ่งที่ยากและสลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย
ขึ้น
8. ย่อส่วนของสิ่งที่ใหญ่โตให้เล็กลงเพื่อนำมาศึกษา
ลักษณะส่วนรวมของสิ่งนั้นได้
9. ขยายสิ่งเล็กๆ ให้สะดวกต่อการศึกษาได้
10.นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาศึกษาได้เช่นภาพถ่าย
ของวัตถุโบราณที่ไม่มีของจริงแล้ว
ข้อดีและข้อจำกัดของสื่อกราฟิกทางการศึกษา ข้อดี 1. ช่วยให้ผู้เรียนหรือผู้ฟังเกิดความเข้าใจได้ดี 2. ใช้ในการจัดป้ายนิเทศ นิทรรศการและงานประชาสัมพันธ์ 3. สามารถนำมาประกอบเป็นวัสดุฉาย 4. ใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว
ข้อจำกัด 1. ใช้กับกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น 2. นักเรียนหรือผู้ดูไม่เข้าใจอาจตีความผิด 3. จำเป็นต้องอาศัยผู้ชำนาญหรือมีทักษะทางศิลปะมาช่วยผลิต
ส่วนประกอบที่สำคัญของสื่อกราฟิกทางการศึกษา ส่วนประกอบ ได้แก่
1. ภาพประกอบ
2. ตัวอักษร
3. สี
ประเภทของสื่อกราฟิกทางการศึกษา
แผนสถิติ (Graphs)
แผนภูมิ (Charts)
แผนภาพ (Diagrams)
ภาพโฆษนาและโปสเตอร์ (Posters)
การ์ตูน (Cartoons)
ภาพพลิก (Flip Charts)
สัญลักษณ์ (Symbols)
กระดานชอล์ก (Chalk Board)
แผนที่และลูกโลก (Maps and Globe)
รูปภาพ (Photographic)
เครื่องฉายสไสด์ (Slides)
แผ่นภาพโปร่งใส (Transparencies)

แผนสถิติ (Graphs)
ความหมายเเละลักษณะของแผนสถิติ แผนสถิติ Graphs คือโสตทัศนวัสดุ ที่เเสดงให้เห็นเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นจำนวนตัวเลขต่างๆที่เเสดงให้เห็นหัวข้อสำคัญของเรื่องราวต่างๆ ได้รวดเร็ว เเละได้ผลดีกว่าตารางตัวเลขทั้งยังเเสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เเนวโน้ม ความเปลี่ยนแปลงของจำนวนข้อมูลที่เป็นปริมาณอย่างเด่นชัด ลักษณะของแผนสถิติประกอบด้วยเส้นต่างๆทั้งในแนวนอนเเละเเนวตั้ง ตัวเลข ตัวอักษร ชื่อเรื่อง
ประเภทของแผนสถิติ 1. แผนสถิติเเบบเส้น ( Line Graphs or Curve Graphs ) 2. แผนสถิติเเบบเเท่ง ( Bar Graphs )
ประเภทของแผนสถิติ (ต่อ)
3. แผนสถิติเเบบวงกลม ( Circle or Pie Graphs )
4. แผนสถิติเเบบรูปภาพ ( Picture Graphs ))
ประเภทของแผนสถิติ (ต่อ)
5. แผนสถิติเเบบพื้นที่ ( Area Graphs
or Solid Figures )
6. แผนสถิติแบบกำหนดจุด(ScatterPlot)

แผนภูมิ (Charts)
ความหมายและลักษณะของแผ่นภูมิ แผนภูมิ Charts คือ โสตทัศนวัสดุที่เเสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงหรือเเนวคิดต่าง ๆแสดงการเปรียบเทียบด้านปริมาณ พัฒนาการ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราว ต่างๆอย่างชัดเจน แผนภูมิประกอบด้วย รูปภาพสัญลักษณ์ ตัวหนังสือตัวเลขเเละสีรวมกัน
ประเภทของแผนภูมิ
แผนภูมิต้นไม้ (Tree Charts) เป็นแผนภูมิที่แสดงของสิ่งที่เป็น ส่วนรวม หรือเป็นความคิด รวบยอด สามารถแยกออกเป็นส่วนย่อยได้หลายส่วน เหมือนกับ ต้นไม้ที่เจริญจากลำต้นแล้วแตกแยกเป็นกิ่งก้านต่างๆ
แผนภูมิเเบบสายธาร (Stream Charts) เป็นแผนภูมิที่แสดงให้เห็นว่าของสิ่งหนึ่ง หรือคู่หนึ่งที่เป็นส่วนรวมเกิดจากการรวบรวมของสิ่งย่อยๆ หลายสิ่งเข้าด้วยกัน เปรียบเสมือนกับแม่น้ำสายใหญ่ๆ ที่เกิดจากแม่น้ำสายย่อยไหลมารวมตัวกัน
ประเภทของแผนภูมิ (ต่อ)
แผนภูมิแบบองค์การ (Organiztion Charts) ใช้แสดงความสัมพันธ์ของหน่วยงานในองค์การสถานที่ ทำงาน แบ่งกลุ่ม และประเภทของสิ่งต่าง ๆนิยมใช้เส้นโยง เส้นตรง ให้เห็นความสัมพันธ์ของหน่วยใหญ่ และหน่วยย่อย
แผนภูมิเเบบต่อเนื่อง (Flow Charts) เป็นแผนภูมิที่แสดงให้เห็นลำดับของการทำงาน กระบวนการ หรือกิจกรรมที่เป็น ไปตามลำดับขั้นแสดงการเจริญเติบโตที่เป็นวัฎจักรหรือการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ของสิ่งหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับลำดับของกิจกรรม หรือเวลา
ประเภทของแผนภูมิ (ต่อ)
แผนภูมิเเบบเปรียบเทียบ (Comparison Charts) ใช้สำหรับเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่าง รูปร่าง ลักษณะ ขนาด แนวความคิด ฯลฯ ของสิ่งของต่างๆ เช่น เปรียบเทียบขนาด ของประเทศต่างๆ เปรียบเทียบลักษณะของ งูมีพิษและงูไม่มีพิษ
แผนภูมิเเบบตาราง (Tabular Charts) เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลสองข้อมูล เช่นความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเหตุการณ์ตารางเรียน ตารางสอน ตารางกำหนดการ ต่างๆ เหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในประวัติศาสตร์
ประเภทของแผนภูมิ (ต่อ)
แผนภูมิวิวัฒนาการ (Evaluation Charts) ใช้แสดงความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องมีวิวัฒนาการติดต่อกันมา ไม่ขาดสายตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน เช่น การแสดงวิวัฒนาการของ รถยนต์ เรือ และเครื่องบิน
แผนภูมิเเบบอธิบายภาพ (Achievement Charts) ใช้แสดงส่วนต่างๆ ของภาพหรือบอกรายละเอียดของภาพ เช่น อวัยวะต่างๆ ของคน ส่วนต่างๆ ของดอกไม้ เป็นต้น
ประเภทของแผนภูมิ (ต่อ)
แผนภูมิขยายส่วน ( Enlarging Chartsz) เป็นแผนภูมิที่มุ่งแสดงให้เห็นลายละเอียดของส่วนเล็กๆ ขยายให้ใหญ่ขึ้นเน้นส่วนที่ต้องการ ให้เห็นชัดเจนขึ้น โดยขยายเฉพาะบางส่วน เท่านั้น
แผนภาพ (Diagrams)
ความหมายเเละลักษณะของแผนภาพ แผนภาพ Diagrams เป็นทัศนสัญลักษณ์ที่เป็นนามธรรมกว่าสื่อกราฟิกชนิดอื่นๆ ใช้เเสดงหรืออธิบายให้เห็นถึงโครงสร้างภายในที่มีความสัมพันธ์กันถึงโครงร่าง กระบวนการของสิ่งหรอพื้นที่ ซึ่งมองไม่เห็นจากภายนอกแผนภาพมีชื่อเรียกอีอย่างว่า แผนผังแผนภาพประกอบด้วย เส้น สัญลักษณ์ ภาพ หรือสีแผนภาพที่มีขนาดเท่าของจริงอาจขยายหรือย่อได้ตามความเหมาะสม
แผนภาพ (Diagrams) (ต่อ)
1. แผนภาพลายเส้น
เป็น แผนภาพที่ใช้ลายเส้น รูปทรง และข้อความประกอบกัน เหมาะสำหรับแสดงโครงสร้างทั้งภายในและภายนอกพร้อมกับมีเส้นโยงแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทั้งลักษณะและตำแหน่ง และความสัมพันธ์ ของภาพที่แสดง
2. แผนภาพเเบบบล็อก
เป็นแผนภาพที่ใช้รูปทรงง่ายๆ แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบอย่างหยาบๆ แสดงความสัมพันธ์ของระบบการทำงานที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยไม่เน้นรายละเอียดของการทำงาน
แผนภาพ (Diagrams) (ต่อ)
3. แผนภาพแบบรูปภาพ
เป็นแผนภาพ ที่ใช้ลายเส้นเขียน เป็นภาพง่ายๆ แทนสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพียงต้องการให้ดูเหมือน หรือใกล้เคียงเท่านั้น ผู้ดูจะเกิด ความเข้าใจ ได้เองแผนภาพแบบนี้ จึงเหมาะ แก่การแสดง หลักการทำงาน ถ้าภาพ ที่วาดเหมือนจริง มากจะกลายเป็น แผนภูมิอธิบายภาพ
4. แผนภาพแบบผสม
เป็นแผนภาพ ที่ใช้เทคนิค การเขียนลายเส้น บนรูปภาพเพื่อเน้น ให้เห็นความสำคัญ เฉพาะบางส่วน โดยเป็นการรวมทั้งรูปภาพ และลายเส้น เข้าด้วยกัน
ภาพโฆษณาหรือภาพโปสเตอร์
ภาพโปสเตอร์เป็นทัศนวัสดุที่สร้างขึ้นชักชวน จูงใจ สร้างความประทับใจให้เกิดความประทับใจ ให้เกิดความเชื่อถือศรัทธาและนำไปสู่การแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมในเวลาต่อไป เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อภาพโปสเตอร์ ควรเป็นเนื้อหาที่ต้องการกระตุ้นเร้าใจให้ปฏิบัติตามการแจ้งข่าวสาร การแนะนำเชิญชวน เป็นต้น
การ์ตูน (Cartoons)
ความหมายเเละลักษณะการ์ตูน การ์ตูน คือ ภาพที่เขียนขึ้นอย่างง่ายๆ เเสดงเฉพาะลักษณะเด่นของสิ่งที่เขียนขึ้นเท่านั้น เป็นภาพเขียนที่เขียนขึ้นเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ซึ่งเป็นความคิดเห็นหรือทัศนะของผู้เขียนไปยังผู้ดูการ์ตูน การ์ตูนที่เขียนได้ดังจุดหมายของเรื่องจะช่วยให้ผู้ดูเข้าใจความหมายได้ดีกว่าการใช้ภาษาบอกเล่าเพียงอย่างเดียว
ลักษณะการ์ตูนที่ดี
เเสดงภาพได้ตรงกับจุดมุ่งหมายของผู้เรียนรู้ และสามารถทำให้ผู้ดูเข้าใจความหมายได้ตรงกับจุดมุ่งหมายนั้น
ต้องเป็นภาพง่ายๆ เเสดงลักษณะเดิน ไม่ซับซ้อนหรือเเสดงความละเอียดมากเกินไป
การ์ตูนภาพหนึ่งๆ ควรเเสดงเรื่องราวเพียงเรื่องเดียวและให้จุดมุ่งหมายเป็นเรื่องเด่นของภาพ
คำบรรยายภาพการ์ตูน ควรเป็นภาพบรรยายสั้น ๆ กระทัดรัด เเต่มีความหมายลึกซึ่งครอบคลุมเรื่องราวทั้งหมด
ประเภทของการ์ตูน 1. การ์ตูนเป็นภาพ
คือ การ์ตูนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นแนวความคิดเดียวโดยเขียนเพียงกรอบเดียวหรือภาพเดียวเท่านั้นก็สามารถสื่อความหมาย
2. การ์ตูนเรื่อง (Comic Books)
การ์ตูนเรื่อง คือภาพการ์ตูนที่ต่อเนื่องกันหลายๆ ภาพ เพื่อเสนอเรื่องราวเป็นเรื่อง ยาวๆ เล่มเดียวจบหรือมีหลายเล่มก็ได้
3. การ์ตูนต่อเนื่อง (Comic Strips)
การ์ตูนต่อเนื่องเป็นภาพการ์ตูนที่เขียนขึ้นเพียง
3-4 กรอบ เป็นตอนๆ แต่สามารถ สื่อความหมายของ เรื่องราวต่างๆ ได้
ประเภทของการ์ตูน
4. การ์ตูนลายเส้น (Stick Figures)
การ์ตูนลายเส้น เป็นภาพการ์ตูนลายเส้นโดยใช้เส้นง่ายๆ แสดงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือ อากับกริยาของคนหรือสัตว์ โดยเข้าใจได้จากลายเส้นที่เขียนขึ้นอย่างง่ายๆ เฉพาะส่วนที่สำคัญ
เท่านั้น
ภาพพลิก (Flip Charts)
ภาพพลิกเป็นทัศนวัสดุที่เป็นชุดของภาพวาด ภาพถ่าย แผนภูมิ หรือแผนสถิติ ซึ่งนำมาเย็บเล่นรวมกันเข้าเป็นเรื่องราวให้มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันตั้งแต่ต้นจนจบ จำนวนประมาณ 10-15 แผ่น รูปแบบของภาพพลิกสามารถทำได้หลายแบบ เช่น 1. ใช้กระดาษแข็งหรือไม้อัดทำเป็นปกหน้าและปกหลัง เวลาใช้ต้องกางปกทั้งสองออกเป็นขาตั้งไปในตัว 2. ใช้กระดาษแข็ง ไม้อัด หรือไม้เนื้อแข็งทำเป็นขาหยั่งตั้งโต๊ะ แบบเป็นรูปฐานรองรับภาพ 2 ชิ้น แล้วติดด้วยบานพับ 3. ใช้ขาหยั่งตั้งบนพื้นทำเป็นเสาสูง 3 หรือ 4 และมีขอโลหะสำหรับทำที่แขวนด้านบน
ลักษณะของภาพพลิกที่ดี 1. ภาพชัดเจน เข้าใจง่าย สื่อความหมายได้ดี ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ 2. คำอธิบายควรเป็นประโยคสั้น ๆ กะทัดรัด ตัวอักษะขนาดใหญ่และควรเป็นอักษรแบบเดียวกันทั้งชุด 3. ควรใช้สีให้ตัดกันอย่างเหมาะสม แต่ไม่ควรเกิน 3-4 สี ภาพสีจะช่วยให้เกิดความสนใจมากกว่าภาพขาวดำ 4. ภาพควรเรียงตัวต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้อง ภาพพลิก 1 ชุด ควรเป็นเรื่องเดียวกัน ในภาพหนึ่งควรมีความคิดเดียว 5. การเย็บแผ่นหรือขาหยั่ง ขาตั้ง ต้องมั่นคงแข็งแรง
สัญลักษณ์ (Symbols)
ประเภทของสัญลักษณ์
1. การใช้รูปภาพเป็นสัญลักษณ์ คือการนำภาพวัตถุต่างๆ มาใช้เป็นตัวแทนภาพสัญลักษณ์เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการนำตัวอักษรมาประกอบ
2. การใช้ตัวอักษรเป็นสัญลักษณ์ บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า “โลโก้“ เป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถดัดแปลงให้เป็นสัญลักษณ์ที่
งดงามและน่าสนใจได้มากกว่าการใช้รูปภาพ
3. การใช้รูปภาพและตัวอักษรผสมกันเป็นสัญลักษณ์ เป็นการออกแบบโดยใช้ทั้งรูปภาพและตัวอักษร ผสมกันเพื่อให้เกิดความงามและสามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน
สัญลักษณ์ คือการสื่อความหมายที่ให้มนุษย์ ในสังคมเข้าใจร่วมกัน ในแนวทางเดียวกัน โดยการออกแบบเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ในลักษณะ ภาพลายเส้นการเขียนสัญลักษณ์อาจใช้วิธีลอกแบบ เลียนแบบจากธรรมชาติ จินตนาการจากแนวความคิดแล้วแต่งเสริมเติมต่อให้ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นก็ได้
ลักษณะของสัญลักษณ์ที่ดี
1. ไม่ควรใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปเรขาคณิตง่ายๆ เช่น
วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เพราะผู้ดูจะไม่สะดุด
ตา หรือให้ความสนใจเป็นพิเศษ 2. ภาพสัญลักษณ์ที่ดีควรมีความเหมาะสมกับทุกยุค
ทุกสมัย โดยควรหลีกเลี่ยงการนำสิ่ง ซึ่งอยู่ใน
ความ นิยมเฉพาะสมัยมาเป็นเครื่องหมาย
สัญลักษณ์ 3. ไม่ควรใช้ภาพที่ผู้ดูจะเกิดความรู้สึกสับสนวุ่นวาย
หรือ มีรายละเอียดมากเกินไป 4. ไม่ควรใช้ภาษาที่อ่านออกเสียงยากมาเป็น
เครื่องหมายสัญลักษณ์ 5. และจะต้องไม่ขัดต่อข้อห้ามตามกฎหมาย เช่น
ไม่ใช้ตราราชการ หรือ เครื่องหมาย ประจำ
พระมหากษัตริย์ รวมทั้งของต่างประเทศ และ
ภาพบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต
กระดานชอล์ก (Chalk Board)
กระดานชอล์กหรือกระดานดำเป็นสื่อการสอนที่รู้จักกันดี และมีใช้มานานแล้ว ทำด้วยกระดานทาสีเขียวด้าน ใช้คู่กับชอล์กสีขาว หรือชอล์กสี กระดานชอล์กมีความจำเป็นสำหรับห้องเรียน เพราะโดยตัวของกระดานชอล์กเองมีคุณสมบัติเด่นอยู่หลายประการ
ข้อดีของกระดานชอล์ก
ใช้ ได้ทุกเวลาและโอกาส ใช้ได้กับทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน ตั้งแต่การนำเข้าสู่บทเรียน ใช้ประกอบการอธิบาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นที่แสดงผลงานของนักเรียน ใช้เป็นจุดรวมความสนใจของนักเรียน ใช้เขียนคำสั่งมอบหมายงาน เฉลยการบ้าน ติดตั้งจอฉาย แขวนป้ายนิเทศ แขวนแผนที่ได้เป็นอย่างดี
ใช้เสนอหลักการ ข้อเท็จจริง ความคิด กระบวนการ จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่สลับซับซ้อนเพื่อให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ตาม
ใช้เป็นที่วางแผนการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน
สามารถเขียนและลบได้ง่าย ถึงแม้ว่าจะเขียนทิ้งไว้นานก็สามารถลบได้ง่าย
ผู้เรียนสามารถมองเห็นได้พร้อมกันทั้งชั้น
เสนอเรื่องราวหรือเนื้อหาได้ทันทีทันใด
ใช้ได้คงทนถาวร เสียหายได้ยาก
ใช้ได้ทั้งครูและนักเรียน
ประหยัดค่าใช้จ่าย
ใช้ประกอบกับสื่ออื่นๆ ได้เป็นอย่างดี
ช่วยทำให้ประสบการณ์นามธรรมให้เป็นรูปธรรม
ใช้สำหรับเขียนภาพประกอบการอธิบาย และใช้เป็นที่แสดงสัญลักษณ์
ถ้าเป็นกระดานชอล์กแบบม้วนครูสามารถเตรียมการเขียนมาก่อนได้ เช่นภาพที่วาดยากหรือไม่สามารถวาดเองได้
ไม่เปลืองไฟฟ้า
ข้อเสียของกระดานชอล์ก
มีฝุ่นละอองจากผงชอล์ก ซึ่งทำให้เกิดความสกปรก และเป็นอันตรายกับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้
ไม่เหมาะกับการใช้งานในห้องปรับอากาศ
ชอล์กและแปรงลบกระดานอาจถูกแปลงเป็นอาวุธของครูได้
ผู้สอนต้องหันหลังให้ผู้เรียนในบางครั้ง
ผู้สอนต้องเขียนเนื้อหาใหม่ทุครั้งที่สอน
เคลื่อนย้ายลำบาก
ผู้ที่ลายมือไม่สวย อาจไม่เหมาะสมในการใช้กระดานชอล์ก
แผนที่และลูกโลก (Maps and Globe)
แผนที่ เป็นทัศนวัสดุที่แสดงทิศทางอาณาเขตลักษณะภูมิประเทศและสิ่งต่างๆ บนพื้นโลก โดยใช้ เส้นสี สัญลักษณ์ และการกำหนดมาตราส่วน เพื่อย่นระยะทางและลดขนาดของพื้นที่ให้สามารถสื่อความหมายได้ในที่จำกัด สามารถรับรู้ และเข้าใจได้ง่ายในเวลารวดเร็ว
ลูกโลก เป็นวัสดุสามมิติประเภทหุ่นจำลองแบบย่อส่วนโดยย่อส่วนหรือลดขนาดของโลกอาศัยมาตราส่วนกำหนดขนาด และระยะทางที่ใกล้เคียงข้อเท็จจริงมากที่สุด

ประเภทของแผนที่ จำแนกตามลักษณะการใช้
1. แผนที่ดูบนโต๊ะ (Desk Map)
2. แผนที่แขวนผนัง (Wall Map)
3.แผนที่ประกอบหนังสือหรือตำรา
(Map in Textbook)
4. แผนที่รวมเล่มหรือหนังสือแผนที่ (Atlas)
จำแนกตามลักษณะเนื้อหา
1. แผนที่ประวัติศาสตร์
2. แผนที่แสดงเนื้อหาทางด้านภูมิศาสตร์
3. แผนที่โครงร่าง แสดงเฉพาะโครงร่างหรืออาณาเขต
4. แผนที่แสดงข้อมูลทางเศรษฐกิจ
5. แผนที่แสดงข้อมูลทางการเมือง 6. แผนที่แสดงภูมิอากาศ 7. แผนที่แสดงภาพถ่ายดาวเทียม
ลักษณะของแผนที่และลูกโลกที่ดี
1. มีมาตราส่วนที่ถูกต้อง 2. แสดงรายละเอียดในเนื้อหาที่จัดทำได้
อย่างชัดเจน 3. ควรมีขนาดใหญ่เห็นได้อย่างชัดเจน 4. มีคำบรรยายประกอบสัญลักษณ์ 5. ควรมีความแข็งแรงทนทาน
รูปภาพ (Photographic)
รูปภาพ มีความสำคัญต่อการสื่อสารของมนุษย์มาเป็นเวลานาน ดังจะเห็นได้จากสุภาษิตจีนโบราณ ซึ่งกล่าวว่า "คำพูดพันคำก็ไม่เท่ากับรูปภาพเพียงภาพเดียว" ดังนั้น ในการนำเสนอเนื้อหา ถ้าผู้นำเสนอได้นำรูปภาพมาใช้ประกอบย่อมสร้างความเข้าใจที่ดีแก่ผู้ดูยิ่งกว่าการใช้คำบรรยายเพียงอย่างเดียว
รูปภาพ เป็นงานกราฟิกประเภทหนึ่งที่ต้องอาศัยหลักการทางศิลปะเช่นเดียวกันประกอบกับเครื่องมือเพื่อใช้ใน การถ่ายภาพ คือ กล้องถ่ายภาพนั่นเอง กล้องถ่ายภาพ ในปัจจุบันมีมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถแบ่งออก เป็น 2 ประเภท คือ
1. กล้องถ่ายภาพอัตโนมัติ
2. กล้องถ่ายภาพสะท้อนเลนส์เดี่ยว ประเภทของกล้องถ่ายภาพ
กล้องถ่ายภาพอัตโนมัติ (Automatic Cameras) เป็นกล้องที่ถ่ายง่ายและสะดวก ต่อการใช้งานเนื่องจากมีระบบช่วยเหลือหลายอย่าง เช่นเปิดหน้ากล้อง หรือ รูรับแสงอัตโนมัติ ปรับความเร็วชัตเตอร์ได้โดยอัตโนมัติ เลื่อนฟิล์มอัตโนมัติ กรอฟิล์มกลับเมื่อถ่ายหมดม้วนได้เองปรับระยะชัดอัตโนมัติแฟลชทำงานได้โดยอัตโนมัติเมื่อแสงไม่พอ สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วย ให้การถ่ายภาพได้ดี ตลอดจนผู้ถ่ายควรมีความสามารถทางศิลปะในการประกอบภาพ
กล้องถ่ายภาพสะท้อนเลนส์เดี่ยว (Single Lens Reflex : SLR) เป็นกล้องที่เหมาะสำหรับการใช้งานในระดับมืออาชีพ หรือผู้ที่ต้องการรายละเอียดสูง ในทุกๆ ด้าน ตัวเลนส์สามารถเปลี่ยนได้ หลายแบบ เช่นเมื่อต้องการถ่ายภาพใกล้มาก ๆ ก็ใช้เลนส์ Macro ต้องการถ่ายภาพปกติใช้เลนส์ Normal ต้องการภาพมุมกว้างก็ใช้เลนส์ Wide Angle หรือต้องการถ่ายภาพในระยะไกลใช้เลนส์ Tele Photo หรือใช้เลนส์ Zoom ที่มีขีดความสามารถ เช่นเดียว กับเลนส์หลายชนิดรวมอยู่ด้วยกัน กล้องประเภทนี้ยังมีแบบ อัตโนมัติด้วยเพื่อลดภาระในการควบคุมให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น
องค์ประกอบในการถ่ายภาพ
การถ่ายภาพให้ได้ผลดีนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1. ควบคุมแสงได้เหมาะสม 2. ภาพคมชัด 3. จัดองค์ประกอบตามหลักศิลปะ เมื่อมีความสนใจในการนำภาพถ่ายไปใช้ประกอบการสอน หรือพัฒนาผีมือ ความสามารถเพื่อผลิตสไลด์ ควรจะได้ศึกษาและฝึกทักษะบ่อย ๆ จะช่วยให้มีความเชื่อมั่น ในการถ่ายภาพได้เป็นอย่างดี
ฟิลม์ถ่ายภาพ
กล้องทั้งสองประเภทจะใช้ฟิล์มที่มีจำหน่าย อยู่มากที่สุด ในสภาพตลาดปัจจุบัน คือฟิล์มเบอร์135 หรือเรียกว่าฟิล์มขนาด 35 มม. ส่วนการ เลือกใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ถ่ายภาพ โดยปกติจะใช้ ISO100 แต่ถ้า ต้องการ ฟิล์มที่มีความไวสูงขึ้นอีกเมื่อใช้กับกล้อง อัตโนมัติ ขนาดเล็กก็ใช้ ISO 200 หรือจะใช้ 400 ก็ได้ ซึ่งราคาก็แพงขึ้นเป็นธรรมดา
เครื่องฉายสไลด์ (Slides)
เครื่องฉายสไลด์เป็นเครื่องมือที่สามารถทำให้ภาพบนฟิล์มปรากฏขึ้นที่จอ มีลักษณะเหมือนต้นแบบ โดยขยายให้ภาพเหล่านี้ใหญ่เล็กตามความต้องการของผู้ดู เครื่องฉายสไลด์เป็น
เครื่องฉายที่ใช้ภาพนิ่งชนิดโปร่งแสงหรือแผ่นสไลด์ ทำให้ภาพบนฟิล์มไปปรากฏบนจอฉาย
มีหลักการทำงานคือ หลอดฉายเป็นต้นกำเนิดแสงสว่างทุกทิศทาง แผ่นสะท้อนแสงจะสะท้อนจากด้านหลังของหลอดฉายให้พุ่งตรงไปข้างหน้าในทิศทางเดียวกัน ลำแสงจะผ่านเลนส์ควบแสง ผ่านทะลุวัสดุฉาย (แผ่นสไลด์) ผ่านเลนส์ฉายและนำภาพไปปรากฏภาพบนจอ โดยมีลักษณะภาพเหมือนต้นแบบและขยายขึ้น ใช้ระบบการฉายแบบตรง (direct projection)
ประเภทของเครื่องฉายสไลด์
1. แบบ Viewer แบบนี้อาศัยความสว่างจากหลอดไฟขนาดเล็ก สามารถขยายภาพให้โตกว่าต้นแบบประมาณ 3 เท่า ด้านหน้าจะมีจอแก้วสำหรับดู โดยใช้ดูทีละภาพ เครื่องฉายแบบนี้ราคาถูกมาก สามารถใช้ศึกษาเป็นรายบุคคลได้
2. แบบ Magazine แบบนี้จะมีถาดสำหรับสอดใส่สไลด์ได้หลายภาพในถาดหนึ่งๆ จัดลำดับการนำเสนอได้ เวลาใช้ก็สามารถเปลี่ยนทีละภาพโดยมิต้องหยิบออกหยิบเข้า ซึ่งมีความสะดวกมาก และถาดวางสไลด์บางเครื่องอาจวางไว้ส่วนบนของเครื่องหรือด้านข้างปัจจุบันนิยมแบบนี้มาก
ส่วนประกอบ
1. ถาด (Magazine) ใส่แผ่นสไลด์
2. ร่องใส่ถาดสไลด์
3. ที่ดึงเลื่อนภาพสไลด์
4. เลนซ์
5. ปุ่มปรับความชัด (Focus)
6. ปุ่มเปลี่ยนภาพ (Slide Change buttons)
7. สวิตซ์ปิด - เปิดไฟ และพัดลม (Fan/Lamp switch)
8. ที่ต่อสาย Remote control
9. ปุ่มปรับระดับเครื่องฉาย (Elevation knob)
เครื่องฉายภาพนิ่งใช้สำหรับฉายภาพประเภทโพสิทีฟ ขาวดำ หรือฟิล์มสี ถ้าฟิล์มที่ฉายมีแผ่นเดียว เรียกว่า “สไลด์” แต่ถ้าเป็นฟิล์มติดต่อกันเรียกว่า “ฟิล์มสตริฟ”
เครื่องฉายภาพนิ่ง
ระบบการทำงานของเครื่องฉายสไลด์ 1. ระบบการเปลี่ยนภาพ แยกระบบย่อย ๆ ได้ 3 ระบบคือ
1.1 ระบบธรรมดา (manual) ควบคุมการเปลี่ยนภาพด้วยมือ โดยการดึงหรือผลักที่บรรจุแผ่นสไลด์ให้
เลื่อน เข้า - ออก เพื่อฉายสไลด์ครั้งละแผ่น ในปัจจุบันไม่ค่อยมีใช้แล้วเพราะล้าสมัย
1.2 ระบบกึ่งอัตโนมัติ (semi automatic) ควบคุมการเปลี่ยนภาพด้วยกลไกภายในตัวเครื่อง โดยการ
กดปุ่มที่ตัวเครื่องเพื่อให้แผ่นสไลด์เดินหน้าหรือถอยหลัง ครั้งละแผ่นตามต้องการ หรือควบคุมการเปลี่ยน
ภาพด้วยเครื่องควบคุมระยะไกล (Remote control) ได้ ซึ่งมีลักษณะเป็นแผงควบคุมเล็กๆ
ต่อเชื่อมกับเครื่องฉายด้วยสายยาวๆ หรืออาจเป็นแบบไร้สายทำงานด้วยคลื่นวิทยุหรือลำแสงอินฟาเรด
2. ระบบการปรับความคมชัดหรือการโฟกัสภาพ แบ่งเป็นระบบย่อยๆ ได้ 3 ระบบ คือ
2.1 ระบบธรรมดา (manual) เป็นระบบการปรับโฟกัสด้วยมือ โดยการหมุนกระบอกเลนส์ไปมาหรือหมุนที่
ปุ่มสำหรับปรับโฟกัสจนกว่าภาพที่ปรากฎบนจอฉายจะคมชัด
2.2 ระบบกึ่งอัตโนมัติ (semi automatic) ปรับโฟกัสด้วยกลไกภายในตัวเครื่อง โดยการบังคับที่ปุ่ม
ควบคุมการทำงานระยะไกล จนกว่าภาพที่ปรากฏบนจอฉายจะชัดเจน
2.3 ระบบอัตโนมัติ (automatic) เครื่องฉายจะปรับโฟกัสได้เอง ทันทีที่ภาพถูกฉายขึ้นบนจอทุกภาพ
เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ
เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ หรือบางทีเรียกว่า เครื่องฉายภาพโปร่งใส เพราะวัสดุฉาย เป็นแผ่นโปร่งใส (Transparency) หรืออาจเรียกว่า กระดานชอล์กไฟฟ้าเพราะใช้แทนกระดานชอล์กได้ เป็นเครื่องฉายที่จัดอยู่ในระบบฉายอ้อม ใช้สำหรับฉายภาพ วัสดุ หรือเครื่องมือที่โปร่งใส โดยเขียนข้อความหรือวาดภาพบนแผ่นโปร่งใส ซึ่งอาจจัดเตรียมไว้ล่วงหน้า แล้วนำมาวางบนเครื่องฉายซึ่งตั้งอยู่หน้าชั้นเรียน ภาพที่ปรากฏบนจอเหมือนการใช้กระดานชอล์ก ซึ่งผู้สอนจะอธิบายประกอบการฉายก็ได้ สะดวกต่อการนำมาใช้ โดยทั่วไป
แผ่นภาพโปร่งใส (Transparencies)
แผ่นโปร่งใส หรือแผ่นใส หมายถึง วัสดุที่แสงสามารถผ่านได้ เช่น ฟิล์มใส แผ่นไมลา, แผ่นอะซีเตท, แผ่นโพลีเอสเตอร์, กระจกใส, พลาสติกใส แต่แผ่นโปร่งใสที่นิยมใช้จะทำจากแผ่นอะซีเตท เพราะมีราคาถูก หาได้ง่าย แผ่นโปร่งใสจะมีกรอบกระดาษ หรือ กรอบพลาสติกยึดแผ่นใส ให้สะดวกเวลาใช้งาน และเวลาเก็บจะได้เป็นชุดเป็นลำดับแผ่น แผ่นโปร่งใสขนาดมาตรฐานที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีด้วยกัน 2 ขนาด คือ ขนาด 10 นิ้ว คูณ 10 นิ้ว และขนาด 8 ½ นิ้ว คูณ 11 ½ นิ้ว ซึ่งจะมีขนาดพอดีกับแท่นรองเขียนบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เนื้อที่ภายในแผ่นโปร่งใสขนาดดังกล่าวนี้ เรียกว่า Image Area คือเนื้อที่ภายในกรอบกระดาษ เป็นส่วนที่ลำแสงจะฉายผ่านออกไป ปรากฏบนจอฉาย Image Area นี้ไม่สามารถใช้งานในการเขียนได้หมด ต้องเหลือเนื้อที่ด้านขอบไว้ประมาณ ½ นิ้ว ระหว่างเนื้อหากับกรอบ ส่วน Image Area นี้จึงแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
- ส่วนที่ใช้เขียนภาพ (Safety Area, Safe Area for Image) คือบริเวณส่วนที่เป็นเป็นเนื้อที่สำหรับเขียนภาพ
- ส่วนที่ไม่ควรเขียนภาพ (Dead Area) คือ ส่วนนอกระหว่างส่วนที่ใช้เขียนภาพกับกรอบกระดาษ เป็นส่วนที่ไม่ควรเขียนภาพ
ความสำคัญของแผ่นโปร่งใส
แผ่นโปร่งใสและเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เข้ามาแทนที่กระดานชอล์ก และชอล์ก และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในขณะนี้แล้วว่า แผ่นโปร่งใสและเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะนี้เป็นประโยชน์มากในการเรียนการสอน ตลอดจนในการประชุมการสัมมนา และการเสนอผลงานทางวิชาการ
ชนิดของแผ่นโปร่งแสง
แผ่นโปร่งแสง แบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ
- แบบเดี่ยว (Single Sheet) แบบนี้เป็นแผ่นใสแผ่นเดียวแล้วติดกรอบกระดาษหรือกรอบพลาสติก เหมาะสำหรับเสนอเนื้อหาที่มีความคิดเดียว มีประเด็นนำเสนอเพียงเรื่องเดียว
- แบบซ้อน (Over Lay) แบบนี้ลักษณะเป็นชุดแผ่นใส ประกอบด้วยแผ่นใสหลายแผ่นซ้อนทับกัน มีลำดับแผ่นที่จะเปิดแล้วจึงค่อยซ้อนทับกันตามลำดับแผ่นเหมาะสำหรับเสนอเรื่องราวที่มีความซบซ้อน, ความต่อเนื่องเป็นวิวัฒนาการ, แสดงการเปรียบเทียบข้อมูลมากกว่า 2 เรื่อง, แสดงเรื่องราวที่มีการเพิ่มเติมรายละเอียดทีละชั้นหรือมีการขยายความเป็นลำดับขึ้นตอนเพื่อให้ผู้เรียน/ ผู้ฟังได้รับความคิดรวบยอด (มโนทัศน์) ในขั้นตอนสุดท้าย
สรุป
การเรียนการสอน เป็นการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกทางด้านจิตใจและการกระทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งการสื่อความหมายก็ใช้เครื่องมือที่เป็นสัญลักษณ์ที่แตกต่างกับไป เป็นที่ยอมรับกัน โดยทั่วไปว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากประสบการณ์ของผู้เรียนที่มีปฏิสัมพันธ์กับ ภาวะแวดล้อม หรือสถานการณ์การเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งการรับรู้โดยผ่าน ประสาทสัมผัส ทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส โดยเฉพาะประสบการณ์ทางตาที่เป็นที่ยอมรับกันในด้านเทคโนโลยีการศึกษาว่า การรับรู้ทางตานั้นทำให้เกิดมโนทัศน์และเข้าใจได้ดี
การศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นบทบาทของครูจะเน้นหนักการเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้ คือ จะต้องเตรียมฐานความรู้ แหล่งสื่อ และสภาพแวดล้อมทางการศึกษาไว้ให้ผู้เรียนได้เผชิญประสบการณ์ด้วยตนเองเป็นหลัก ดังนั้นครูจะต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องประเภทของสื่อและแหล่งสื่อการศึกษา การเลือกและการใช้สื่อการศึกษาให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
สื่อการศึกษา คือ ตัวกลางหรือสิ่งต่าง ๆ เช่น วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และเทคนิควิธีการ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดการพัฒนา และสามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปใช้ในการประกอบอาชีพ ตลอดจนการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข และมีประสิทธิภาพ
สื่อกราฟิกทางการศึกษา คือ สื่อการสอนประเภทหนึ่งที่นำเอาหลักการทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อใช้ในการถ่ายทอด เรื่องราว แนวคิด ความรู้ข้อเท็จจริงระหว่างผู้ผลิตกับผู้ชม หรือระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงกัน ประเภทสื่อกราฟิก ได้แก่ แผนสถิติ (Graphs) แผนภูมิ (Charts) แผนภาพ (Diagrams) ภาพโฆษนาหรือโปสเตอร์ (Posters) การ์ตูน (Cartoons) ภาพพลิก (Flip Charts) สัญลักษณ์ (Symbols) กระดานชอล์ก (Chalk Board) แผนที่และลูกโลก รูปภาพ (Photographic) เครื่องฉายสไลด์ (Slides) แผ่นโปร่งใส (Transparencies) เป็นต้น

1 ความคิดเห็น: